4 เม.ย. 2556

ยีนในตัวคนกระตือรือร้นอาจเกี่ยวกับอายุยืน


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ พบว่า ยีนหลายยีนที่พบในคนที่มีพฤติกรรมค่อนข้างกระตือรือร้น (Active) จะมีความเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

นักวิจัยพบว่า ในกลุ่มคนที่อายุเกินกว่า 90 ปี จะมีอนุพันธ์ของยีน ตัวรับโดพามีน ที่ชื่อว่า DRD4 7R allele ในอัตราที่สูงกว่าคนอื่น และจากการทดลองกับหนูก็พบว่า ยีนตัวนี้มีความเี่กี่ยวข้องกับการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นจริงๆ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต มอยซีส แห่งภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ และ ดร.โนรา  โวลคอฟ จิตแพทย์แห่งสถาบันวิจัยแห่งชาติบรูคฮาเว่น และสถาบันยาแห่งชาติ เป็นแกนนำในการวิจัย โดยได้ทำการศึกษาประชาการที่มีอายุเกิน 90 ปี ที่ย่านลากูนาวู้ดส์ แคลิฟอร์เนีย

ยีนเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของระบบโดพามีน อันเป็นระบบการส่งสัญญาณระหว่างประสาทและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจและการเรียนรู้โดยมีรางวัลเป็นสิ่งจูงใจและกลุ่มยีน DRD4 7R allele นี้ จะตอบสนองต่อสัญญาณโดพามีน ซึ่งจะทำให้คนตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างกระตือรือร้น

ศาสตราจารย์มอยซีสเผยว่า คนที่มียีนจำพวกนี้จำนวนมากๆ มักจะเป็นคนที่ชอบเข้าร่าวมกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมที่ต้องใช้สมองและกิจกรรมที่ใช้พละกำลังร่างกาย และยีนกลุ่มนี้ยังมีความเกี่ยวข้องความเป็นโรคจำพวกสมาธิสั้นหรือพวกไฮเปอร์ หรือกลุ่มที่มีการเสี่ยงว่าจะเป็นโรคนี้ด้วย

"ถึงแม้ว่ายีนอาจจะไม่ได้ส่งผลให้เกิดความอายุยืนโดยตรง แต่มันก็มีึความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนกับการมีอายุยืนยาว และมีสุขภาพที่ดียืนยาว แต่เราก็พอจะบอกได้ว่า หากคุณเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังมากเท่าไหร่า ก็เป็นไปได้มากขึ้นที่คุณจะมีอายุยืนยาว ซึ่งก็ตรงไปตรงมา" ศาสตราจารย์มอยชีสชี้แจง

ก่อนหน้านี้มีการค้นพบแล้วว่า ความกระตือรือร้นในชีิวิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีชีิวตยืนยาว และยังช่วยเยียวยาโรคทางประสาทเป็นต้นว่า อัลไซเมอร์ ได้ด้วย

ศาสตราจารย์มอยชีสและศาสตราจารย์ฉวนเจิ้ง เฉิน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ ก็เคยร่วมค้นพบมาแล้วว่า ยีนเพื่ออายุที่ยืนยาวจำพวกนี้ ถูกเลือกจากธรรมชาติในตัวมนุษย์ตั้งแต่สมัยนอมาติก เมื่อ 30,000 ปีก่อนแล้ว

แต่การศึกษาล่าสุดนี้ ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างของยีนจากอาสาสมัครที่มีอายุเกิน 90 ปี จำนวน 310 คน จนพบว่า มียีนที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 66 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มความคุมคือ ประชาการอายุระหว่าง 7 ถึง 45 ปี จำนวน 2,902 คน และการมียีนเหล่านี้ก็ช่างเกี่ยวเนื่องกับการมีกิจกรรมที่ใช้พละกำลังเสียเหลือเกิน

ขั้นตอนต่อมา ดร.โวลคอฟ และทีมงานได้พบว่า หนูที่มีไม่มียีน ดังกล่าวจะมีอายุขัยสั้นกว่ากลุ่มประชากรที่มียีนประมาณ 7 ถึง 9.7 เปอร์เซ็นต์  แม้ว่าสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูจะอุดมสมบูรณ์เช่นกัน

แม้จะมีหลักฐานว่ายีนเหล่านี้อาจหมายความถึงชีวิตที่ยืนยาว แต่ศาสตราจารย์มอยซีส ก็ยังต้องทำวิจัยต่อไปเพื่อหาประโยชน์ทางการแพทย์จากงานวิจัยชิ้นนี้

"อย่างไรก็ตาม เราก็เห็นได้ชัดว่าคนที่มียีนจำพวกนี้จะมีแนวโน้มที่จะำทำกิจกรรมที่ใช้พละกำลังมากกว่า ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าีมีประโยชน์ต่อร่างกาย"


อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/154776

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น